การจัดหมวดเด็กโดย Strange Situation Protocol ของ ทฤษฎีความผูกพัน

วิธีที่สามัญที่สุดและมีหลักฐานยืนยันมากที่สุดเพื่อใช้ประเมินความผูกพันของทารก (11-17 เดือน) เรียกว่า เกณฑ์วิธีสถานการณ์แปลก (Strange Situation Protocol) ที่พัฒนาโดย ดร. แมรี่ เอนสเวอร์ธ ซึ่งเป็นผลของสังเกตการณ์อย่างละเอียดของปฏิสัมพันธ์ระหว่างทารกและมารดา[30]แต่เป็นเทคนิคงานวิจัยที่ไม่ได้หมายให้ใช้สำหรับการวินิจฉัยทางการแพทย์แม้ว่าวิธีนี้จะสามารถใช้ช่วยให้ข้อมูลทางคลินิก หมวดที่จัดไม่ควรสับสนกับเกณฑ์วินิจฉัยทางจิตเวชในเรื่อง Reactive attachment disorder (RAD)เพราะว่า แนวคิดทางคลินิกของ RAD ต่างโดยพื้นฐานหลายอย่างจากทฤษฎี และต่างจากการจัดหมวดหมู่ความผูกพันโดยอาศัยเกณฑ์วิธีสถานการณ์แปลกที่ขับเคลื่อนโดยแนวคิดงานวิจัยดังนั้น ไอเดียว่าความผูกพันที่ไม่มั่นใจ (insecure attachment) เหมือนกับอาการ RAD ไม่ตรงกับความจริงและทำให้เกิดความไม่ชัดเจนทางวิชาการเมื่อกล่าวถึงทฤษฎีความผูกพันดังที่พัฒนาไปตามวรรณกรรมงานวิจัยนี่ไม่ได้หมายความว่าแนวคิดเกี่ยวกับ RAD ไม่สมเหตุสมผล แต่ว่า แนวคิดในการรักษาเรื่อง attachment disorder และแนวคิดงานวิจัยเรื่องความผูกพันแบบไม่มั่นใจ (insecure attachment) เป็นคนละเรื่องกัน

เกณฑ์วิธีสถานการณ์แปลกเป็นวิธีการในแล็บ ใช้เพื่อประเมินรูปแบบความผูกพันของทารกกับคนดูแล โดยมีการแสดงภัยที่ไม่คาดฝันหนึ่งอย่าง การแยกจากมารดาสั้น ๆ 2 ครั้ง ตามด้วยการเจอกันใหม่ในกระบวนการนี้ มีการให้มารดาและทารกอยู่ในห้องเล่นที่ไม่คุ้นเคยเต็มไปด้วยของเล่นในขณะที่นักวิจัยถ่ายวิดีโอของเหตุการณ์ผ่านกระจกเห็นทางเดียวมีระยะ 8 ระยะที่ทารกประสบกับการพรากจากและการเจอแม่ใหม่และการเจอกับคนที่ไม่คุ้นเคย คือคนแปลกหน้า[30]โดยทำตามลำดับดังต่อไปนี้นอกจากนักวิจัยจะระบุการยกเว้น

  • ตอน 1: แม่ (หรือคนเลี้ยงดูที่คุ้นเคย) ทารก และผู้ทำการทดลอง (30 วินาที)
  • ตอน 2: แม่และทารก (3 นาที)
  • ตอน 3: แม่ ทารก และคนแปลกหน้า (3 นาที)
  • ตอน 4: คนแปลกหน้าและทารก (3 นาทีหรือน้อยกว่านั้น)
  • ตอน 5: มารดาและทารก (3 นาที)
  • ตอน 6: ทารกคนเดียว (3 นาทีหรือน้อยกว่านั้น)
  • ตอน 7: คนแปลกหน้าและทารก (3 นาทีหรือน้อยกว่านั้น)
  • ตอน 8: แม่และทารก (3 นาที)

โดยมากขึ้นอยู่กับพฤติกรรมเมื่อมาเจอกันอีก (แม้ว่า พฤติกรรมอื่น ๆ ก็อาจจะเกี่ยวด้วย) ทารกสามารถจัดอยู่ในหมวดการผูกพันแบบ "มีระเบียบ" 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม B (ภายหลังเรียกว่า แบบมั่นใจ) กลุ่ม A (ภายหลังเรียกว่า แบบวิตกกังวล-หลีกเลี่ยง) และกลุ่ม C (ภายหลังเรียกว่า แบบวิตกกังวล-คละ)โดยแต่ละกลุ่มจะมีกลุ่มย่อย ๆ ดังจะกล่าวต่อไปเริ่มตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 มีการเพิ่มต่อเติมรูปแบบดั้งเดิมของ ดร. เอนสเวอร์ธรวมทั้งกลุ่ม B4 (1970)[31]กลุ่ม A/C (1985)[32][33]กลุ่มไม่มีระเบียบ D (1986) กลุ่ม B5 (1988, 1992)[34][35]กลุ่ม A+ C+ และเศร้า (Depressed) (1992, 2010)[36][37]ถ้ามีอายุมากขึ้น ก็จะมีกลุ่มอื่น ๆ เพิ่มขึ้นอีกโดยแต่ละกลุ่มสะท้อนรูปแบบความผูกพันของทารกต่อคนดูแลทารกสามารถมีรูปแบบความผูกพันที่ต่างกันระหว่างพ่อแม่และระหว่างคนดูแลดังนั้น รูปแบบความผูกพันจึงไม่ได้เป็นส่วนของทารก แต่เป็นลักษณะการป้องกันและการปลอบใจที่ทารกได้จากความสัมพันธ์หนึ่ง ๆรูปแบบเหล่านี้สัมพันธ์กับรูปแบบพฤติกรรมอื่น ๆ ซึ่งสามารถช่วยพยากรณ์บุคลิกภาพของทารกในอนาคตได้[38]


แหล่งที่มา

WikiPedia: ทฤษฎีความผูกพัน http://web.ebscohost.com/ehost/detail?vid=3&hid=7&... http://www.psychology.sunysb.edu/attachment/index.... http://www.psychology.sunysb.edu/attachment/online... http://www.psychology.sunysb.edu/attachment/online... http://www.garfield.library.upenn.edu/classics1986... //lccn.loc.gov/00266879 //lccn.loc.gov/2005019272 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2690512 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3041266 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3861901